กรีซโบราณ (Ancient Greece)
เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต์
ยุคโบราณ
ในยุคสำริด 3,000-2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนือ อารยธรรมต่าง ๆ ในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืด
ช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทอง ในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อ เพเรอคลิส ผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก ซาเฟอคลิสได้เขียนมหากาพย์โออีดิเพิสขึ้น และโสคราติส หรือซาเครอทิส ได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตย ต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อม แล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียน ซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
ยุคกลาง
ในปี ค.ศ. 1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของอาณาจักรไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1500 ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี ค.ศ. 1833 หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี ค.ศ. 1864 ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ยุคใหม่
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี ซึ่งปัจจุบันคืออิชเมียร์ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ 2 ประเทศกันในปี ค.ศ. 1923 ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง 1,300,000 คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และในปี ค.ศ. 1936 พรรคคอมมิวนิสต์ ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมน รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปี ค.ศ. 1967 กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงาน CAI ของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น