วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิวัติรัสเซีย 

สาเหตุสำคัญของการปฏิวัติรัสเซีย
                1. ความพ่ายแพ้ในสงคราม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.. 1914 รัสเซียประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส รัสเซียจึงมักเป็นฝ่ายที่ได้รับความเสียหายในการรบอย่างมาก
                2. ความวุ่นวายภายในประเทศ สงครามทำให้รัสเซียขาดแคลนอาหารเพราะชาวนา ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร พื้นที่เพาะปลูกถูกทิ้งให้รกร้าง สภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการว่างงานที่มีมากขึ้นประชาชนเดือดร้อน มีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
                3. ความล้มเหลวของการบริหารประเทศ   ซาร์นิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปบัญชาการรบด้วยพระองค์เองในสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กองทัพ จึงโปรดให้ซารีนา อะเล็กซานตราพระมเหสีบริหารราชการแผ่นดินแทน แต่พระนางทรงเชื่อคำกราบทูลของนักบวชเกรกอรี รัสปูติน ในการบริหารประเทศ แต่งตั้งบุคคลที่ใกล้ชิดเขาแต่ไร้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาล งานราชการแผ่นดินจึงได้รับความเสียหาย
                4. การขาดแคลนอาหารและเชื่อเพลิง  ชุมนุมเดินขบวน และการก่อจลาจลในกรุงเปโตรกราดมีการปราบปรามการชุมนุมอย่างเด็ดขาด  กองทหารคอสแซค ซึ่งเป็นกองทหารที่จงรักภักดีที่สุดต่อพระเจ้าซาร์ปฏิเสธที่จะปฏิบัตตามคำสั่งของ พระองค์ทหารส่วนใหญ่วางอาวุธและเข้าร่วมสนับสนุนของประเทศชาติ พระองค์จึงยอมสละราชบัลลังก์ตามคำกราบทูล สภาดูมาได้ประกาศการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลซาร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.. 1917 และทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาแกรนด์ดุ๊ก ไมเคิล  อะเล็กซานโดรวิช  แต่แกรนด์ดุ๊ก ไมเคิล ทรงปฏิเสธ จึงทำให้ราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองจักรวรรดิรัสเซียกว่า 300 ปี ถึงกาลอวสานลง


การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917    

1. สาเหตุของการปฏิวัติ
                

1.1 ความล้มเหลวของรัฐบาลเฉพาะกาลในการบริหารประเทศ  หลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.. 1917 รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองประเทศยังคงดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำสงครามต่อไป แต่การที่รัสเซียยังพ่ายแพ้ในการรบอย่างต่อเนื่องก็มีผลทำให้ความไม่พอใจของประชาชนในการทำสงครามมีมากขึ้น พรรคบอลเชวิค และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในสภาโซเวียตจึงเห็นเป็นโอกาสปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านสงคราม

1.2 เหตุการณ์เรื่องคอร์นีลอฟ ในเดือนกันยายน ค.. 1917 นายพลลาฟร์คอร์นีลอฟ (Lavr Kornilov) ก่อกบฎขึ้นเพื่อโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลเฉพาะกาล การเคลื่อนกำลังดังกล่าวจึงเป็นเหตุการร์ที่รู้จักกันว่า เหตุการร์เรื่องคอร์นีลอฟ


1.3 นโยบายการดำเนินสงคราม การที่รัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรบ มีผลให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายสงครามอย่างรุ่นแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันหนี้สินสงครามทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายทางการเงิน รัฐบาลรัสเซียจึงพยายามแก้ปัญาหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรจำนวนมหาศาสลออกมาใช้หนี้และเพื่อใช้หมุนเวียนซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุ่นแรง ราคาอาหารและสินค้าที่จำเป็นถีบตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 10 – 12 เท่า

1.4 การกลับเขาประเทศของผู้นำการปฏิวัติ  เริ่มเดินทางกลับเข้าประเทศ เช่น เลออน ตรอตสกี (Leon Trotsky) และวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir  Lenin) ผู้นำการปฏิวัติได้ชูคำขวัญ สันติภาพ ที่ดิน และขนมปังโดยจะถอนตัวออกจากสงคราม

1.5 การจัดตั้งคณะกรรมาธิการปฏิวัติฝ่ายทหาร  ในต้นเดือนตุลาคม ค.. 1917 เลนินนผู้นำพรรคบอลเชวิคตัดสินใจที่จะยึดอำนาจด้วยกำลังอาวุธ

2. ความสำคัญของการปฏิวัติ  ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.. 1917 ทำให้รัสเซียกลายเป็นแม่แบบของการปฏิวัติสังคมนิยมที่เป็นแรงบันดาลใจแกนักปฏิวัติและประชาชาติต่าง ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น