วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิวัติฝรั่งเศส
สาเหตุของการปฏิวัติ
1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การที่ฝรั่งเศสพัวพันกับการทำสงครมหลายครั้งตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฝรั่งเศสกู้เงินเป็นจำนวนมากมาช่วยชาวอาณานิคมอเมริกันทำสงครามต่อต้านอังกฤษ
          2. สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง  เสนาบดีคลังเสนอให้เก็บภาษีที่ดินจากพลเมืองทุกคน แต่ถูกฐานันดรที่ 1 และฐานันดรที่ 2 ต่อต้าน เรียกประชุมสภาฐานันดรแห่งชาติ สภาฐานันดรแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.. 1789 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ฐานันดรที่ 3 จึงเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้แทนของตนขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อจะได้มีจำนวนเท่ากับผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน สภาฐานันดรแห่งชาติเปิดประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.. 1789 แต่ละฐานันดรถูกจัดให้แยกกันประชุม ฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้เปิดประชุมร่วมกัน ประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ ในวันที่ 20 มิ.ย. สมัชชาแห่งชาติได้จัดประชุมขึ้นบริเวณสนามเทนนิสของพระราชวังแวร์ซายส์
         3. ความแพร่หลายของความคิดใหม่ในศตวรรษที่ 18 แนวความคิดของวอลแตร์  มองเตสกิเออร์ และสงครามกู้อิสรภาพอเมริกันกระตุ้นให้ตื่นตัวในเรื่องเสรีภาพ มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์นำความนิยมในระบอบประชาธิปไตยมาเผยแพร่ สิงหาคม ค.. 1789 มีการประกาศสิทธิแห่งมนุษย์ชนและพลเมือง ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อที่เป็นอุดการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ (liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity) ประกาศดังกล่าวย้ำข้อเรียกร้องฐานันดรที่ 3 เช่น มนุษย์เกิดมาเป็นอิสระ   และมีสิทธิเท่าเทียมกัน การจับกุมกล่าวหาและหน่วงเหนียวบุคคลใดๆจะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด และทุกคนต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับ ประกาศดังกล่าว 

          ฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออสเตรียซึ่งมีจักรพรรดิเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีมารี อองตัวแนต ในวันที่ 20 เมษายน ค.. 1792 ในเดือนต่อมาปรัสเซียจึงประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส นับเป็นการเริ่มต้น สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars, .. 1792 – 1799) ในวันที่ 1 สิงหาคม  ค.. 1792 ออสเตรีย-ปรัสเซียได้ออกแถลงการณ์บรันสวิก (Brunswick Manifesto)  เพื่อขู่ฝรั่งเศสว่าถ้ากษัตริย์ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะอันตราย พันธมิตรจะโจมตีกรุงปารีสทันที ฝูงชนจำนวนหนึ่งและกองกำลังป้องกันชาติแห่งกรุงปารีสได้พากันไปที่พระราชวังตุยเลอรี ทหารรับจ้างชาวสวิสประมาณ    1,000 คน   พระเจ้าหลุยส์ที่ 16  ต้องเสด็จไปหลบภัยในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทหารสวิสต่อสู้กับฝูงชนที่บุกรุกเข้าไป แต่เมื่อมีการยิงตอบโต้กัน เป็นเหตุการณ์จลาจลที่นองเลือดที่สุดของการปฏิวัติครั้งนี้ ฝูงชนเดินขบวนบุกเข้าไปในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงหลบภัย  พระราชวงศ์จึงถูกนำไปกักบริเวณที่เรือนจำเทมเปิล (Templeสภากงวองซิงยง (Convention) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เปิดประชุมครั้งแรกวันที่ 20 กันยายน ค.. 1792 และในวันรุ่งขึ้นก็ประกาศล้มเลิกระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเข้าสู่สมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (First Republic of France) ชายฝรั่งเศสทุกคนที่อายุ 21 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียง ในเดือนธันวาคม ค.. 1792  มีการพิจารณาไต่สวนความผิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พวกซองกูลอตถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16   ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตจำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พระราชวังตุยเลอรี  พระเจ้าหลุยส์สที่ 16  และพระนางแมรี  อังตวนเนตจึงถูกประหารด้วยกิโยตีนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 1793
          สมัยแห่งความหวาดกลัสภากงวองซิยงอ้างว่าสภาวะบ้านเมืองกำลังมีศึกทั้งภายนอกและภายใน จำต้องมีรัฐบาลปฎิวัติบริหารบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด ซึ่งทำให้สังคมฝรั่งเศสปั่นป่วนและหวาดระแววกันเองจนกลายเป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตใน สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror) ระหว่างมี.ค 1793 ถึงก.ค. 1794 ช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror) ของสมัยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายเดือนมิ.ย. 1794 ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาตามความพอใจของคณะลูกขุนมากกว่าหลักฐานอื่นใด จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏวัติตัดสินประหารมีจำนวนมาก ต่อมาเมื่อ แมกซิมิเลียง โรแบสปีแยร์ (Maximillen Robespierre) ผู้นำการปฏิวัติคนสำคัญถูกสภาประกาศให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย จึงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในวันที่ 28 ก.ค. 1794 ก็นับเป็นการสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789 ได้ปลุกกระแสการสร้างสำนึกทางสังคมและการเมืองให้แก่ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติในหลายประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น