วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

Black Eyed Peas - Boom Boom Pow (Club Version)

สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างคู่สงคราม คือ ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น อีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ต่อมาจึงมีประเทศอื่นๆ เข้าร่วม สงคราม ทำให้สงครามขยายไปทั่วโลก
           
สาเหตุเริ่มต้นของสงคราม
          1. สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม ระบุให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่  1 ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าปฏิกรรมสงครามและเสียดินแดน  เช่นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนี ต้องเสียอาณานิคม ต้องคืนแค้วนอัลซาล ลอเรนแก่ฝรั่งเศส โปเซนและปรัสเซียตะวันตกให้โปแลนด์ มอรสเนท ยูเพนและมัลเมดีให้เบลเยี่ยม   ชเลสวิคและโฮลสไตน์ให้เดนมาร์ก   แคว้นซูเดเตนให้เชคโกสโลวาเกีย และ เมเมลให้ลิทัวเนีย จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์ ถูกจำกัดกำลังทหารมีทหารได้ไม่เกิน 100,000 คน ห้ามเกณฑ์ทหารเป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขี้น  ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ปลุกระดมต่อต้านการเสียค่าปฏิกรรมสงคราม



และนำความอดยาก ยากจนมาให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
         2. ความอ่อนแอ่ของ องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้
         3. ความแตกต่างทางด้านการปกครอง  กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
         4.  บทบาทของสหรัฐอเมริกา สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร  ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครตเข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )
ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2  ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor) มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน  คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์  และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต  เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)




ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง
1. เกิดองค์การสหประชาชาติเพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน นับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ           
2. ทำให้เกิดสงครามเย็นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น  ประเทศสหภาพโซเวียต   ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก  ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )






สงครามโลกครั้งที่1

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

1.ลัทธิชาตินิยม

  การเกิดลัทธิชาตินิยมจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ทำให้เกิดระบบรวมรัฐชาติ  สร้างระบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง  รัฐชาติในประเทศยุโรปต่างแสวงหาความเป็นมหาอำนาจ ทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ รัฐชาติหมายถึง รัฐหรือประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันกัน มีความสามัคคี ภาคภูมิใจในความเป็นชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์     ความรักชาติที่รุนแรงจนเป็นลัทธิชาตินิยม ทำให้เชื่อว่าชาติตนเหนือกว่าชาติอื่น ผลักดันชาติของตนได้เปรียบชาติอื่นไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ หรือการทหาร นำไปสู่การแข่งขันอำนาจกัน จนกลายเป็นสงคราม เช่น สงครามการรวมอิตาลี การรวมเยอรมนี จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
2.ลัทธิจักรวรรดินิยม

ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม หมายถึงประเทศที่พัฒนา
แล้วประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ การทหาร และวิทยาศาสตร์ เข้าครอบครอง ที่ด้อยพัฒนากว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมเริ่มจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการวัตถุดิบและตลาด มหาอำนาจยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ( เยอรมนี) เนเธอร์แลนด์  ต่างแข่งขันกันขยายอำนาจในการครอบครองดินแดนในทวีปเอเชียอเมริกากลางและอัฟริกาโดยครอบงำทาวัฒนธรรม     และวิถีชีวิต เป็นแหล่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เมืองแม่

        3.การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป
            นโยบายการรวมกลุ่มที่มีผลประโยชน์ตรงกัน เริ่มต้นใน ค.ศ. 1907 เมื่อ เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการีลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรไตรมิตร (Triple Alliance )ประจันหน้ากับรุสเซีย เนื่องจากเยอรมนี   ต้องการไม่ให้รัสเซียเป็นใหญ่ในชนเผ่าสลาฟแหลมสมุทรบอลข่าน ต่อมามีอิตาลีมาร่วมประเทศ เพราะไม่พอใจฝรั่งเศสที่แย่งครอบครองตูนิเซีย ในฐานะรัฐในอารักขา   ฝ่ายออสเตรีย ฮังการีซึ่งต้องการเป็นใหญ่ในแหลมบอลข่านเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี  อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตร (Triple Entente )  ค.ศ. 1907และเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นด้วย
       4. ความขัดแย้งเรื่องแหลมบอลข่าน
สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ออสเตรีย ฮังการีขัดแย้งกับเซอร์เบีย เรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน เยอรมนีสนับสนุนออสเตรีย ฮังการี ขณะที่รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ความขัดแย้งขยายความรุนแรงเป็นสงครามระหว่างรัฐในแหลมบอลข่าน มหาอำนาจจึงมีโอกาสแทรกแซงและตั้งกลุ่มพันธมิตรจุดระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1  มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีคือ อาร์ค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ กับพระชายาโซเฟีย ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914ที่เมืองซาราเจโว ขณะเสด็จเยือนเมืองหลวงของบอสเนีย โดยคนร้ายชื่อ กาฟริโล  ปรินซิพ  นักศึกษาชาวบอสเนียสัญชาติเซอร์เบีย  ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เซอร์เบียปฏิเสธออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย 28 กรกฎาคม 1914  รัสเซียแสดงตนว่าเป็นผู้พิทักษ์เผ่าสลาฟจึงระดมพล  เยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ต่อมาอังกฤษเข้าสู่สงครามเมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียม และญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนี  เพราะมุ่งหวังในอาณานิคมของเยอรมนีในจีน

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
          1. การสถาปนาองค์การสันนิบาตชาติ  แต่มีจุดอ่อนในการรักษาสันติภาพ เพราะรัสเซีย
ถอนตัวและสหรัฐอเมริกาไม่เข้าเป็นสมาชิก ทั้งยังไม่มีกองทหารรักษาสันติภาพด้วย
          2. เกิดสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะร่างขึ้นมี 5 ฉบับ
               - สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี  เยอรมนีต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลและเสียดินแดนหลายแห่ง ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก ราคาสินค้าตกต่ำ ในเยอรมนีไม่สามารถใช้หนี้สงครามได้และมองสนธิสัญญานี้ว่าไม่เป็นธรรม จนฮิตเลอร์นำมาประณามเมื่อเริ่มมีอำนาจ
               - สนธิสัญญาแซงต์ แยร์แมงทำกับออสเตรีย
               - สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย
               - สนธิสัญญาตริอานองทำกับฮังการี
               - สนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี


      3. ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นและความยากจนต่อเนื่องจากก่อนสงครามนำไปสู่การที่เลนินปฏิวัติเปลี่ยนประเทรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1
      4. ในยุโรป มีรูปแบบของรัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่รัสเซีย เลนินปฏิวัตินำระบบคอมมิวนิสต์มาปกครองรัสเซียใน ค.ศ. 1917  และในค.ศ. 1924 -1953  สตาลินได้ใช้ระบบเผด็จการที่เน้นการปราบศัตรูทางการเมืองและการผูกขาดอำนาจด้วยความรุนแรงมากขึ้น ส่วนในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้นำ ใช้ระบบเผด็จการโดยอำนาจพรรคนาซี  ตั้งแต่ ค.ศ.1933 และในอิตาลี มุสโสลินีได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ขึ้นในเวลาต่อมา
     5. เกิดประเทศใหม่ 7 ประเทศเนื่องมาจากการแยกดินแดนได้แก่ ฮังการี ยูโกสลาเวีย โปแลนด์  เชคโกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย แลตเวีย แอสโตเนีย
               

การปฏิวัติรัสเซีย 

สาเหตุสำคัญของการปฏิวัติรัสเซีย
                1. ความพ่ายแพ้ในสงคราม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.. 1914 รัสเซียประกาศสงครามกับเยอรมัน โดยเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส รัสเซียจึงมักเป็นฝ่ายที่ได้รับความเสียหายในการรบอย่างมาก
                2. ความวุ่นวายภายในประเทศ สงครามทำให้รัสเซียขาดแคลนอาหารเพราะชาวนา ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร พื้นที่เพาะปลูกถูกทิ้งให้รกร้าง สภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการว่างงานที่มีมากขึ้นประชาชนเดือดร้อน มีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
                3. ความล้มเหลวของการบริหารประเทศ   ซาร์นิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปบัญชาการรบด้วยพระองค์เองในสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กองทัพ จึงโปรดให้ซารีนา อะเล็กซานตราพระมเหสีบริหารราชการแผ่นดินแทน แต่พระนางทรงเชื่อคำกราบทูลของนักบวชเกรกอรี รัสปูติน ในการบริหารประเทศ แต่งตั้งบุคคลที่ใกล้ชิดเขาแต่ไร้ความสามารถให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาล งานราชการแผ่นดินจึงได้รับความเสียหาย
                4. การขาดแคลนอาหารและเชื่อเพลิง  ชุมนุมเดินขบวน และการก่อจลาจลในกรุงเปโตรกราดมีการปราบปรามการชุมนุมอย่างเด็ดขาด  กองทหารคอสแซค ซึ่งเป็นกองทหารที่จงรักภักดีที่สุดต่อพระเจ้าซาร์ปฏิเสธที่จะปฏิบัตตามคำสั่งของ พระองค์ทหารส่วนใหญ่วางอาวุธและเข้าร่วมสนับสนุนของประเทศชาติ พระองค์จึงยอมสละราชบัลลังก์ตามคำกราบทูล สภาดูมาได้ประกาศการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลซาร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.. 1917 และทรงมอบราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชาแกรนด์ดุ๊ก ไมเคิล  อะเล็กซานโดรวิช  แต่แกรนด์ดุ๊ก ไมเคิล ทรงปฏิเสธ จึงทำให้ราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองจักรวรรดิรัสเซียกว่า 300 ปี ถึงกาลอวสานลง


การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917    

1. สาเหตุของการปฏิวัติ
                

1.1 ความล้มเหลวของรัฐบาลเฉพาะกาลในการบริหารประเทศ  หลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.. 1917 รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองประเทศยังคงดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำสงครามต่อไป แต่การที่รัสเซียยังพ่ายแพ้ในการรบอย่างต่อเนื่องก็มีผลทำให้ความไม่พอใจของประชาชนในการทำสงครามมีมากขึ้น พรรคบอลเชวิค และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในสภาโซเวียตจึงเห็นเป็นโอกาสปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านสงคราม

1.2 เหตุการณ์เรื่องคอร์นีลอฟ ในเดือนกันยายน ค.. 1917 นายพลลาฟร์คอร์นีลอฟ (Lavr Kornilov) ก่อกบฎขึ้นเพื่อโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลเฉพาะกาล การเคลื่อนกำลังดังกล่าวจึงเป็นเหตุการร์ที่รู้จักกันว่า เหตุการร์เรื่องคอร์นีลอฟ


1.3 นโยบายการดำเนินสงคราม การที่รัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรบ มีผลให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายสงครามอย่างรุ่นแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันหนี้สินสงครามทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายทางการเงิน รัฐบาลรัสเซียจึงพยายามแก้ปัญาหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรจำนวนมหาศาสลออกมาใช้หนี้และเพื่อใช้หมุนเวียนซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุ่นแรง ราคาอาหารและสินค้าที่จำเป็นถีบตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 10 – 12 เท่า

1.4 การกลับเขาประเทศของผู้นำการปฏิวัติ  เริ่มเดินทางกลับเข้าประเทศ เช่น เลออน ตรอตสกี (Leon Trotsky) และวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir  Lenin) ผู้นำการปฏิวัติได้ชูคำขวัญ สันติภาพ ที่ดิน และขนมปังโดยจะถอนตัวออกจากสงคราม

1.5 การจัดตั้งคณะกรรมาธิการปฏิวัติฝ่ายทหาร  ในต้นเดือนตุลาคม ค.. 1917 เลนินนผู้นำพรรคบอลเชวิคตัดสินใจที่จะยึดอำนาจด้วยกำลังอาวุธ

2. ความสำคัญของการปฏิวัติ  ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.. 1917 ทำให้รัสเซียกลายเป็นแม่แบบของการปฏิวัติสังคมนิยมที่เป็นแรงบันดาลใจแกนักปฏิวัติและประชาชาติต่าง ๆ


การปฏิวัติฝรั่งเศส
สาเหตุของการปฏิวัติ
1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การที่ฝรั่งเศสพัวพันกับการทำสงครมหลายครั้งตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฝรั่งเศสกู้เงินเป็นจำนวนมากมาช่วยชาวอาณานิคมอเมริกันทำสงครามต่อต้านอังกฤษ
          2. สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง  เสนาบดีคลังเสนอให้เก็บภาษีที่ดินจากพลเมืองทุกคน แต่ถูกฐานันดรที่ 1 และฐานันดรที่ 2 ต่อต้าน เรียกประชุมสภาฐานันดรแห่งชาติ สภาฐานันดรแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.. 1789 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ฐานันดรที่ 3 จึงเรียกร้องให้เพิ่มจำนวนผู้แทนของตนขึ้นอีกเท่าตัวเพื่อจะได้มีจำนวนเท่ากับผู้แทนฐานันดรที่ 1 และ 2 รวมกัน สภาฐานันดรแห่งชาติเปิดประชุมในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.. 1789 แต่ละฐานันดรถูกจัดให้แยกกันประชุม ฐานันดรที่ 3 เรียกร้องให้เปิดประชุมร่วมกัน ประกาศตนเป็นสมัชชาแห่งชาติ ในวันที่ 20 มิ.ย. สมัชชาแห่งชาติได้จัดประชุมขึ้นบริเวณสนามเทนนิสของพระราชวังแวร์ซายส์
         3. ความแพร่หลายของความคิดใหม่ในศตวรรษที่ 18 แนวความคิดของวอลแตร์  มองเตสกิเออร์ และสงครามกู้อิสรภาพอเมริกันกระตุ้นให้ตื่นตัวในเรื่องเสรีภาพ มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์นำความนิยมในระบอบประชาธิปไตยมาเผยแพร่ สิงหาคม ค.. 1789 มีการประกาศสิทธิแห่งมนุษย์ชนและพลเมือง ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ข้อที่เป็นอุดการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คือ เสรีภาพ (liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity) ประกาศดังกล่าวย้ำข้อเรียกร้องฐานันดรที่ 3 เช่น มนุษย์เกิดมาเป็นอิสระ   และมีสิทธิเท่าเทียมกัน การจับกุมกล่าวหาและหน่วงเหนียวบุคคลใดๆจะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด และทุกคนต้องเสียภาษีตามสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับ ประกาศดังกล่าว 

          ฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อออสเตรียซึ่งมีจักรพรรดิเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีมารี อองตัวแนต ในวันที่ 20 เมษายน ค.. 1792 ในเดือนต่อมาปรัสเซียจึงประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส นับเป็นการเริ่มต้น สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars, .. 1792 – 1799) ในวันที่ 1 สิงหาคม  ค.. 1792 ออสเตรีย-ปรัสเซียได้ออกแถลงการณ์บรันสวิก (Brunswick Manifesto)  เพื่อขู่ฝรั่งเศสว่าถ้ากษัตริย์ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะอันตราย พันธมิตรจะโจมตีกรุงปารีสทันที ฝูงชนจำนวนหนึ่งและกองกำลังป้องกันชาติแห่งกรุงปารีสได้พากันไปที่พระราชวังตุยเลอรี ทหารรับจ้างชาวสวิสประมาณ    1,000 คน   พระเจ้าหลุยส์ที่ 16  ต้องเสด็จไปหลบภัยในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทหารสวิสต่อสู้กับฝูงชนที่บุกรุกเข้าไป แต่เมื่อมีการยิงตอบโต้กัน เป็นเหตุการณ์จลาจลที่นองเลือดที่สุดของการปฏิวัติครั้งนี้ ฝูงชนเดินขบวนบุกเข้าไปในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงหลบภัย  พระราชวงศ์จึงถูกนำไปกักบริเวณที่เรือนจำเทมเปิล (Templeสภากงวองซิงยง (Convention) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เปิดประชุมครั้งแรกวันที่ 20 กันยายน ค.. 1792 และในวันรุ่งขึ้นก็ประกาศล้มเลิกระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสจึงเข้าสู่สมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (First Republic of France) ชายฝรั่งเศสทุกคนที่อายุ 21 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียง ในเดือนธันวาคม ค.. 1792  มีการพิจารณาไต่สวนความผิดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พวกซองกูลอตถือว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16   ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตจำนวนมากของชาวฝรั่งเศสที่พระราชวังตุยเลอรี  พระเจ้าหลุยส์สที่ 16  และพระนางแมรี  อังตวนเนตจึงถูกประหารด้วยกิโยตีนเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 1793
          สมัยแห่งความหวาดกลัสภากงวองซิยงอ้างว่าสภาวะบ้านเมืองกำลังมีศึกทั้งภายนอกและภายใน จำต้องมีรัฐบาลปฎิวัติบริหารบ้านเมืองอย่างเฉียบขาด ซึ่งทำให้สังคมฝรั่งเศสปั่นป่วนและหวาดระแววกันเองจนกลายเป็นช่วงเวลาของการมีชีวิตใน สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror) ระหว่างมี.ค 1793 ถึงก.ค. 1794 ช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror) ของสมัยปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายเดือนมิ.ย. 1794 ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาตามความพอใจของคณะลูกขุนมากกว่าหลักฐานอื่นใด จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏวัติตัดสินประหารมีจำนวนมาก ต่อมาเมื่อ แมกซิมิเลียง โรแบสปีแยร์ (Maximillen Robespierre) ผู้นำการปฏิวัติคนสำคัญถูกสภาประกาศให้เป็นบุคคลนอกกฎหมาย จึงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในวันที่ 28 ก.ค. 1794 ก็นับเป็นการสิ้นสุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. 1789 ได้ปลุกกระแสการสร้างสำนึกทางสังคมและการเมืองให้แก่ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติฝรั่งเศสมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิวัติในหลายประเทศ